top of page
Search

แนวคิด community-based school

โรงเรียนที่มีชุมชนเป็นฐาน มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จในการเป็นโรงเรียนคุณธรรมมากกว่า โรงเรียนที่ปลีกตัวออกจากชุมชน

แนวคิด community-based school สำหรับการศึกษาฝั่งตะวันตกแบบวิชาการ ก่อตัวในศตวรรษที่ 19 แต่สำหรับประเทศไทย แนวคิดนี้ ถูกใช้มานานในฐานะรากฐานการศึกษาไทย คือ แนวคิด บวร (บ้าน วัด โรงเรียน/โบสถ์/มัสยิด)

การศึกษาที่ตั้งอยู่บนฐานการเรียนรู้ชีวิตจริง ชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีความสัมพันธ์ ช่วยเหลือพึ่งพากันและกัน ย่อมส่งเสริมคุณธรรมในตัวผู้เรียนได้อย่างฝั่งลึก กิจกรรมโรงเรียนช่วยวัด โรงเรียนช่วยบ้าน วัดช่วยโรงเรียน ทำให้คุณธรรมมีความหมาย เพราะเป็นความดีที่พร้อมเพรียง

แนวคิด บ้าน วัด โรงเรียน/โบสถ์/มัสยิด ไม่เก่าเลย!

ตรงกันข้าม บวร ทรงพลังอย่างยิ่งในการส่งเสริมคุณธรรม ไม่ว่าจะเป็น งานจิตอาสา งานประเพณีเด็กๆช่วยชุมชนและวัด งานแหล่งเรียนรู้วัด และชุมชน ช่วยโรงเรียน การสนับสนุนกิจกรรมโรงเรียนระดมทรัพยากร เป็นต้น

 การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สร้างความได้เปรียบในการส่งเสริมคุณธรรม ทำให้คุณธรรมมีความหมายดังนี้

1. เรียนรู้ของการลงมือทำ และสภาพแวดล้อมจริง ปัญหาจริง ประโยชน์ต่อส่วนรวมที่เป็นรูปธรรม ประสบการณ์ความภาคภูมิใจ

2. ก่อรูปความคิดของการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (citizenship) ปลูกฝังความรับผิดชอบ ความเสียสละ การเอื้อเฟื้อ ความสามัคคี ความสุจริต เป็นต้น

3. สร้างชุดความคิดและแนวทางการอยู่ร่วมกัน การเคารพ กตัญญู อยู่ร่วมบนความแตกต่าง

4. นักเรียนจะเรียนรู้การสมดุลระหว่างสิทธิ เสรีภาพ (ส่วนตัว)และหน้าที่ (รับผิดชอบต่อส่วนรวม) ที่ออกแบบวิธีการเรียนรู้ได้ยากในชั้นเรียน

5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน ก่อเกิดความรัก หวงแหน อนุรักษ์ พัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้ยั่งยืน

แน่นอนว่า การส่งเสริมแนวทางโรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ ต้องออกแรงมากกว่าปกติในช่วงต้น เพราะผู้บริหาร คุณครูจะต้องใช้เวลา และปรับการทำงานให้เป็นแบบแนวราบ แต่นั้นก็ไม่นาน และคุ้มค่า

โรงเรียนเล็กๆ ที่มีทรัพยากรไม่มาก เข้าใจผลลัพธ์นี้เป็นอย่างดี โรงเรียนใหญ่ถึงใหญ่มาก มีทรัพยากรมาก แนวโน้มจะห่างเหิน เพราะไม่ต้องพึ่งใคร

 มีหลักการสำคัญที่อยากแบ่งปันกัน เพื่อทำให้การส่งเสริมคุณธรรมแบบชุมชนเป็นฐาน ก่อประโยชน์เต็มที่

1. การเสริมพลังนักเรียนให้เป็นเจ้าของกิจกรรม ทั้ฃการออกแบบ และลงมือทำ เพื่อให้เกิดพลังบวก (หากบังคับทำ จะเกิดพลังลบ พาลจะเบื่อหน่าย)

2. ชื่นชม และให้กำลังใจกับผู้ที่มีส่วนร่วม อย่างให้เกียรติ เรื่องดีแม้เล็กน้อยยิ่งต้องให้นำ้หนัก

3. เชื่อมโยง อัตลักษณ์ ความดี จุดเด่น ของชุมชน เข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ให้ได้ อย่างเป็นระบบ (ไม่เน้นทำเพียงถ่ายรูป เปิดงาน) เด็กจะรักและดูแลชุมชนโดยไม่ต้องบังคับ ทุนชุมชนจะเข้มแข็ง

4. ปรึกษาหารือ แจ้งข่าว เชิญชวน และเข้าร่วม กับชุมชน กับ วัด โบสถ์ มัสยิดเสมอ ทั้งในเชิงกลไกกรรมการสถานศึกษา และไม่เป็นทางการ เพราะความร่วมมือที่ใกล้ชิด เริ่มต้นจากการให้เกียรติ

คุณธรรมด้วยแนวทาง ชุมชนเป็นทางแบบฝรั่ง หรือ จะใช้ “บวร” ก็ดีงาม เรียกว่า ทำน้อยแต่ได้มาก

ความรู้สึกทั้งหมด

88



 
 
 

Opmerkingen


bottom of page