วันนี้ขอแนะนำเทคนิค 4 ขั้นเพื่อสามารถบูรณาการ หรือออกแบบให้การส่งเสริมคุณธรรม กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ของนักเรียนได้ในทุกวิชา
คุณครูออกแบบกิจกรรมดังนี้ 1. ให้นักเรียนมีสติอยู่กับสิ่งที่ทำ ไม่ต้องเร่งมาก แบะทำอย่างสงบ 2. ให้นักเรียนได้สังเกตความรู้สึกของการลงมือทำทั้งก่อน ระหว่างและหลัง อาจทำเมื่อกิจกรรมเสร็จ หรือจดบันทึกความรู้สึกทันที 3. เมื่อเสร็จกิจกรรมให้นักเรียนได้สะท้อนความคิดที่อยู่เบื้องหลังความรู้สึกนั้น 4. ให้เขาได้สะท้อนความภูมิใจกับคุณค่าทั้งจากภายใน และมองเห็นประโยชน์
กระบวนการทั้ง 4 ให้ผลอย่างไร การมีสติอยู่กับสิ่งที่ทำ จะช่วยให้นักเรียนตระหนักถึง การเคลื่อนไหวทางกาย และคำพูด ทุกจังหวะ ข่วยให้เห็นสิ่งที่เกิดกับตนเองได้ง่าย
สังเกตความรู้สึก ช่วยให้นักเรียน ได้เห็นการตอบสนองทางอารมณ์ของตนเอง กับการกระทำในช่วงต่างๆ เห็นความรู้ความชอบ ความดีใจ หงุดหงิด น้อยใจ การข่ม และฝืน เป็นต้น
สะท้อนคิด คือการเปิดโอกาสให้ นักเรียนได้ค้นหา สำรวจความเชื่อ ที่อยู่เบื้องหลังความรู้สึกต่างๆเหล่านั้น คุณธรรมภายในจะเริ่มปรากฎเมื่อเข้าถึงความเชื่อหรือความคิดเบื้องหลังความรู้สึก เช่น เมื่อมีเพื่อนมาล้อเลียน ไม่ตอบโต้ จนเกิดความรู้สึกต้องข่มฝืนตนเอง เมื่อสะท้อนคิดจะเข้าใจว่า ที่ข่มฝืนตนไม่ตอบโต้นั้นเพราะอะไร คำตอบที่ได้เป็นคุณธรรมที่เขาจะเรียนรู้ แม้ว่าคำตอบนั้น เป็นความคิดเรื่องความกลัว แต่เขาก็จะมองเห็น ธรรมชาติจะทำให้เขาเข้าใจและปรับความคิด และคุณธรรมจะก่อตัวตลอดกระบวนการ
สะท้อนความภูมิใจ เป็นกระบวนการของการประกาศคุณค่าในตน หากคุณครูได้กล่าวชื่นชม และเพื่อนๆได้แสดงการยกย่อง ก็ยิ่งช่วยให้คุณธรรม ปัก ตรึง แน่น แปรเปลี่ยนได้ยาก
กระบวนการส่งเสริมคุณธรรมลักษณะ สามารถบูรณาการกับทุกกิจกรรม ทำน้อยแต่ได้มาก วัดผลเชิงพฤติกรรมก่อน และหลังได้ เพียงคุณครู ต้องให้เวลากับนักเรียนเพื่อฟัง กันและกันอย่างเพียงพอ
Opmerkingen