top of page
Search

การพัฒนาการเรียนรู้

หัวเราะ รอยยิ้ม และบรรยากาศของการเล่น (playfulness) ช่วยให้จัดการเรียนรู้ และการบ่มเพาะคุณธรรม ง่ายยิ่งขึ้น

กล่าวได้ว่าคุณภาพการเรียนรู้ของบุคคล เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพการทำงานของสมอง และการมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เรารู้สึกปลอดภัย

การหัวเราะ และยิ้ม จึงตอบโจทย์ทั้ง 2 เรื่องนี้ เพราะการหัวเราะช่วยให้สมอง หลั่งเอนโดฟิน และการหัวเราะทำให้เกิดเพื่อที่ปลอดภัย นักเรียนมั่นใจที่จะร่วมมือกัน เพียงพอที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้

หนังสือและงานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่า การหัวเราะ และรอยยิ้ม ส่งผลต่อการเรียนรู้และการอยู่ร่วมกัน เช่น งานของ Patrick Bateson and Paul Martin จากหนังสือ เรื่อง Play, Playfulness, Creativity and Innovation อธิบาย ถึงบทบาทของการเล่น การหัวเราะ และความฝัน ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

Play + humor + dreaming นำไปสู่ การพัฒนาการเรียนรู้ โดยเฉพาะด้าน ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

แนวคิด Play+learn = เพลิน

ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย แต่อะไรคือความท้าทายให้เกิดได้ยาก เช่น

1. ครูผู้สอนอยู่ในบรรยากาศและอารมณ์ที่ไม่เพลิน อาจมาจากสภาพการทำงาน (โรงเรียน) ที่มีภารกิจมาก สภาพชีวิตส่วนตัว

2. ครูผู้สอนมุ่งเน้นเนื้อหา เกรงว่าจะสอนไม่ทัน สอนไม่ครบ จึงลดพื้นที่เพลิน และนานไปก็ลืมว่าเพลินเป็นส่วนหนึ่ง บ่อยครัังอาจกลายเป็นการเปิดฉากสอน ด้วยการบ่นว่าการบ้านไม่ส่ง การตำหนิ ซึ่งไม่เพลิน

3. ตัวชี้วัดสมรรถนะการสอน และการประเมินความก้าวหน้า ที่ไม่ได้บรรจุเรื่อง play+ learn ว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ของครูดีอย่างเพียงพอ

การสอนแบบเพลิน อาจเริ่มต้น ที่การที่ครูต้องยอมรับ และปรับความคิด เรื่อง เป้าหมายของการเรียนรู้ โดยบรรจุ เป้าหมายของกรรจัดการเรียนรู้ อย่างสนุกสนาน การเรียนรู้ ที่ต้องมีรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะในทุกครั้ง

กลวิธีจะตามมาโดยธรรมชาติ เพราะเมื่อครูเปิดพื้นที่ความสุข นักเรียนสามารถช่วยนำทางกิจกรรมได้ ให้เหมาะสมกับความสุขแต่ละช่วงวัย

มาจัดห้องเรียนให้เพลินกันครับ



 
 
 

Comments


bottom of page