top of page
Search

การชั่งใจ

   พบถุงเงินตกอยู่ข้างทางเดินกลับบ้าน มีเงิน 20,000 บาทข้างใน

หากเราเป็นเด็กไม่ยากเลยที่จะนำถึงเงินนี้ไปให้ครู เพราะการตัดสินใจนี้ เขาจะเป็นนักเรียนที่ดี

แต่เมื่อเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แล้วพบถุงเงินตกอยู่ข้างทางเดินกลับบ้าน มีเงิน 20,000 บาทข้างใน ผู้ใหญ่จะตัดสินใจช้ากว่าเด็ก เพราะต้องมีกระบวนการชั่งใจ ไม่แปลกก็เพราะผู้ใหญ่มีหลายบทบาท โจทย์หน้าที่ความรับผิดชอบซับซ้อนขึ้น

ในบทบาทพ่อแม่ ที่ยังไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้จะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายค่าเรียนให้ลูก อาจคิดว่านี้คือทางออกช่วยลูกได้ ควรเก็บ

 ในบทบาทของลูกที่ต้องหาเงินไปรักษา พ่อแม่ที่ป่วย อาจคิดว่านี้เป็นเงินเทวดาส่งมาให้ ควรเก็บ

 ในบทบาทของพลเมือง เชื่อว่าต้องมีเจ้าของ ซึ่งเขาต้องร้อนใจถ้าเงินหาย ควรหาทางนำไปคืน

สถานการณ์เหล่านี้เรียกว่า ทางสองแพร่งทางจริยธรรม (Moral Dilemma) แม้ไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุด แต่เราสามารถฝึกฝนนักเรียน หรือผู้ใหญ่ให้เข้าใจ และรู้จักวิธีการให้เหตุผลเชิงคุณธรรม (moral reasoning) ได้มีคุณภาพ

 แน่นอนการตัดสินแบบนี้ “ฝึกได้” และจำเป็นมากหากต้องการให้ผู้คนระเบิดความดีจากภายใน ตามหลักการนี้

   1. นำเสนอกรณีตัวอย่างด้านทางสองแพร่งทางจริยธรรม จากข่าว หรือแหล่งอื่นที่เชื่อมกับชีวิตจริง

   2. ให้นักเรียนได้สะท้อนว่า หากเขาเป็นคนในสถานการณ์นี้ อะไรคือความคิด และความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นกับเขาในสถานการณ์นี้

   3. ให้ช่วยกันคิดว่า ในสถานการณ์นี้มีคุณค่า มีจริยธรรม หรือมาตรฐานอื่นใดอยู่บ้าง จากนั้นให้วิเคราะห์ว่า คุณค่าต่างๆที่เสนอ มีคู่ใดหรือเรื่องใดขัดแย้งกันบ้าง

   4. ใช้กันคิดว่ามีทางเลือกในการตัดสินใจอย่างไรบ้าง แต่ละทางเลือกมีข้อดี มีข้อเสียอย่างไร

   5. ให้นักเรียนสะท้อนว่า นักเรียนได้ข้อคิดอะไร และอยากจะนำความรู้นี้ไปใช้อย่างไรในชีวิต

 การฝึกตัดสินใจแบบนี้ เกิดประโยชน์หลายด้าน ฝึกการคิดวิเคราะห์ขั้นสูง (critical thinking) ลดภาวะคลุมเครือในการดำรงชีวิต สร้างพลังบวก (positive energy) ในการเปลี่ยนแปลงตนเองอันมาจากการเข้าใจคุณค่าที่สำคัญ (self-value strength) ส่งให้ให้การดำเนินงานในองค์กรลดการควบคุมด้วยกฎระเบียบ สร้างวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร และในระดับสังคมทำให้สังคมเกิดความเข้าอกเข้าใจกัน (empathy) สังคมเอื้ออาทร สังคมแห่งสันติภาพ

นักเรียนฝึกได้ ผู้ใหญ่ฝึกก็ดีครับ



 
 
 

Comments


bottom of page