การจัดการเรียนรู้ที่นำไปสู่ ฐานสมรรถนะ
- moral school
- Mar 29
- 1 min read
การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
เรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ จากครูอนุบาล โรงเรียนรัฐบาลในรัฐ ohio ซึ่งมีความเชื่อว่าเด็กๆ เรียนรู้ได้ดี ผ่านการสร้างความหมายด้วยตัวเขาเอง การออกแบบการเรียนรู้ จึงเกิดขึ้นจากสิ่งรอบตัว เพียงเขาเป็นคนเลือก
“...ณ สนามเด็กเล่น ของโรงเรียน ที่ได้รื้อเอาเครื่องเล่นออกหมด แล้วผู้รับเหมากำลังขุดปรับพื้นที่เพื่อสร้างสนามเด็กเล่นใหม่...”
เด็กอนุบาล คนหนึ่งบอกครูว่า เราไปขุดหลุมในสนามเด็กเล่นกันไหม ครูก็ปล่อยให้เด็กๆได้ลงไปเล่น ไปขุด ...วันต่อมาครูได้ชวนเด็กๆคุยและอ่านหนังสือ เรื่อง Fossil เด็กๆรู้สึกสนุกได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ
ครูตั้งคำถามมากมาย ชี้ชวนให้ เอ๊ะ ให้อ๋อ ให้เออ ให้ว้าว กระตุ้นความอยากเรียนรู้ กระตุ้นต่อมสงสัย แล้วก็ชวนคิดวิธีการหาคำตอบ ตามวิถีของเด็กๆ
...กิจกรรมการสำรวจหลุมดินก็บังเกิดขึ้น หินชิ้นต่างๆ ถูกนำมาเล่าแลกเปลี่ยน นำมาทำความสะอาด วัดขนาด ชั่งนำ้หนัก และเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านหิน และโดยบังเอิญ เด็กๆและครูพบว่า หินก้อนหนึ่งในสนามเด็กเล่นของโรงเรียน เป็น fossil ที่มีอายุมากกว่า 400 ล้านปี ของ Ohio
จากนั้นการค้นพบนี้ก็กลายเป็น Project พิพิธภัณฑ์ fossil ของเด็กอนุบาลที่เปิดให้คนในเมืองและคนทั่วไปมาเรียนรู้ วิธีการศึกษาและการได้มาซึ่ง fossil ของเด็กๆ มาชื่นชมกระบวนการทำงานของเด็กๆ มาชมหินที่เด็กเก็บได้ ตลอดจนมาอ่านบทความ บทบรรยายที่เด็กเขียนเกี่ยวกับ fossil และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น
ทั้งหมดนี้ใช้เพียงเวลา 3 เดือน
น่าประหลาดใจ เพราะว่า Project พิพิธภัณฑ์ fossil เพียงโครงการเดียว ก็ได้ทำให้เด็กๆ บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้หลักของเด็กอนุบาล (main common standard of Ohio kindergarten) ที่มลรัฐ Ohio กำหนดไว้ เกือบร้อยละ 90
ความรู้จำนวนมากที่เด็กได้ เรียนรู้ สืบค้น และลงมือปฏิบัติ
ความรู้เรื่องหิน ประวัติศาสตร์ การชั่งตวงวัด ภูมิอากาศ แผนที่ การประชาสัมพันธ์ การจัดทำสื่อ การเล่าเรื่อง

จึงอยู่รอบตัว แม้แต่พื้นที่ในโรงเรียน
ขอบคุณแรงบันดาลใจ จาก TEDxDayton
ตอน Discovering Children as Active Citizens โดย Stephanie VanHouten
ติดตามได้ใน Youtube
Comments