top of page
Search

EP.8 ครูโค้ช กับการประเมินด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain)

Writer: moral schoolmoral school

ครูจะรู้ได้อย่างไรว่า...ขณะนี้กระบวนการคิดนักเรียนอยู่ในระดับใด ในเมื่อกระบวนการคิดนั้นอยู่ภายใน �


ครูจะสรุปได้อย่างไรว่า...นักเรียนมีความสามารถด้านพุทธิพิสัยอยู่ในระดับใด หากในการประเมินนั้นนักเรียนมีความวิตกกังวล �


การประเมินจะนำไปสู่การปรับปรุงได้อย่างไร...หากนักเรียนทราบเพียงคะแนนทดสอบ



การประเมินด้านพุทธิพิสัยเป็นพื้นฐานของวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ไล่เรียงไปจากขั้นเบื้องต้นสูงขึ้นสูง คือ การจดจำ ความเข้าใจ การประยุกต์ การวิเคราะห์ การประเมิน และ การสังเคราะห์ (Revised Bloom's Taxonomy, 2001)



โดยทั่วไป การประเมินด้านพุทธิพิสัยนิยมใช้แบบทดสอบ เนื่องจากข้อเด่นของการประเมินที่มีความเป็นวัตถุวิสัย และสะดวกต่อการสรุปผล


�อย่างไรก็ตาม แบบทดสอบมักกลายเป็นจำเลยของปัญหาการวัดประเมินผล ว่ามีข้อจำกัด เช่น


1. พุทธิพิสัยขั้นที่สูงขึ้นเป็นกระบวนการและผลที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน สังเกตยาก


2. การประเมินความสามารถประยุกต์ความรู้และแก้ปัญหาในโลกแห่งความจริงได้ทำได้ยาก


3. มักสร้างความวิตกกังวลให้นักเรียน ผลการวัดจึงอาจไม่ได้สะท้อนความสามารถทางพุทธิพิสัยจริง



ท้าทายอย่างยิ่ง เพราะ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ในระดับผลลัพธ์ ระบบการศึกษาเราคาดหวังความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประเมินและแก้ปัญหาของนักเรียน


�แต่...เรายังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่า นักเรียนมีพุทธิปัญญาในระดับใด ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว



เงื่อนไขของการประเมินด้านพุทธิพิสัยให้มีถูกต้องและนำไปสู่การปรับปรุงสมรรถนะ จะมีลักษณะ ดังนี้


1. ช่วยให้ผู้เรียนได้สำรวจความเชื่อ ความคิด ความรู้สึกภายในผ่านการสะท้อนกระบวนคิดออกสู่โลกภายนอก


2. ดำเนินการประเมินในระหว่างจัดการเรียนรู้ (formative assessment)


3. ดำเนินการเป็นรายบุคคล เพราะโลกภายในของแต่ละคนไม่เหมือนกัน


4. นักเรียนต้องรู้สึกปลอดภัยเพียงพอ จึงจะกล้านำโลกภายในออกมาเล่า


5. นักเรียนต้องมีทักษะมากพอที่จะสัมผัสความรู้สึกภายในของตน


6. ชั้นเรียนมีเวลาเพียงพอสำหรับการสะท้อน และแสดงพุทธิพิสัยที่ได้เรียนรู้


7. ครูมีเวลาและภาระงานอื่นที่ไม่มากเกินควร



ครูโค้ชสามารถสนับสนุนการประเมินด้านพุทธิพิสัยได้ 7 ด้าน ดังนี้


1. ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ปลอดภัย เพื่อทำให้การสะท้อน การประเมินโลกภายใน (กระบวนคิด) ง่ายขึ้น


2. ช่วยให้การฟังสิ่งที่นักเรียนสะท้อนจากโลกภายในที่ลึกซึ้งขึ้น


3. ช่วยถามกระตุ้นให้นักเรียนได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างเป็นระบบ


4. ช่วยสนับสนุนให้นักเรียนเข้าใจถึงสถานะการเรียนรู้ของตน สามารถกำหนดเป้าหมายตลอดจนวิธีการปรับปรุงได้อย่างสอดคล้องกับความถนัดและความต้องการของตนเอง


5. ชื่นชม และทำให้นักเรียน ตระหนัก ภาคภูมิใจถึงคุณค่าของการเรียนรู้และปรับปรุงตนเอง ไม่ติดอยู่กับความกังวลต่อผลการเรียนรู้ที่ไม่สำเร็จ


6. สนับสนุนการฝึกทักษะด้านจิตวิทยาที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ เช่น ความจดจ่อ การจัดการอารมณ์ การสร้างความเชื่อมั่น และชุดความคิดเติบโต (growth mindset) เป็นต้น



การประเมินโลกภายใน พุทธิพิสัย (กระบวนคิด) จิตใจของนักเรียนต้องพร้อม



ครูโค้ช จึงเป็นบทบาทที่ครูสอนสามารถนำมาสนับสนุนการเรียนรู้โลกภายในและการปรับปรุงการเรียนรู้การเติบโตของนักเรียนในระดับฐานราก








 
 
 

Comments


bottom of page