EP.3 ครูโค้ชจุดเชื่อมของการเรียนรู้ที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
- moral school
- Mar 29
- 1 min read

ครูไม่มีสมรรถนะ ครูยังขาดวามรู้ ในการจัดการเรียนรู้ที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning: SCL) แล้วจะทำอย่างไรล่ะ ก็ต้องให้ครูอบรมจะได้มีสมรรถนะและความรู้
แต่นี้ก็อบรมกันมา 20 ปีเป็นอย่างน้อยแล้วนะ ทำไมมันดูเหมือนจะยากจัง ยิ่งอบรม เครื่องมือยิ่งเยอะ แบบประเมินยิ่งเยอะ อบ(รม) อะไรกันมาบ้าง
การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
การเรียนรู้ตามความถนัด (Personalized Learning)
การสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Learning)
การเรียนรู้ผ่านการทำงานและสื่อสารร่วมกัน (Collaboration and Communication)
การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem-Solving)
ผลที่คาดว่าได้รับคือ นักเรียนก็จะสนใจอยากเรียน อยากแสวงหาความรู้ มีความสนุก จากความท้าทายของโจทย์ต่างๆ ตามความถนัดสนใจ และสามารถประยุกต์ไปใช้ในชีวิตได้จริง
ดีงาม ดีงาม และดีงาม
แต่เราก็พบว่า มีโรงเรียนเพียงส่วนน้อย ถึงน้อยมาก ที่จะสามารถจัดการเรียนรู้จนเกิดผลลัพธ์ดังกล่าว
หรือว่า...
รากฐานสำคัญของ การเรียนรู้ที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
หัวใจไม่ได้อยู่ที่กระบวนการ หรือเครื่องมือ (tool set) แต่อยู่ที่ชุดความคิด (mindset) ของครู
เพราะนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เริ่มจากความรู้สึกปลอดภัย (psychological safety) ของนักเรียน ที่จะไม่กลัวว่าจะผิด ไม่กังวลกับการถูกตำหนิ การด้อยค่า การบุลลี่ ตีตรา การเย้ยหยัน ถากถาง เหน็บแนบ ตัดสิน หรือปิดกั้น จากทั้งครู เพื่อน และผู้ปกครอง
(ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ)
นักเรียนเป็นศูนย์กลาง = ตัวนักเรียนรู้สึกปลอดภัย
ชุดความคิด (mindset) ของครู คือ พื้นที่ปลอดภัย อบอุ่น พิงใจ
ทำไม่ได้ไม่ยากเลย เพียงแค่ ขอให้ครูได้มองและรู้สึกรัก ลูกศิษย์อย่างแท้จริง
รับฟัง ยอมรับ ไม่ตัดสิน ให้โอกาส และให้กำลังใจ
“…เช่นนั้นเราอาจไม่ได้ขาดครูที่มีความรู้ (เพราะอบรมมาเยอะ) แต่เราอาจขาดครูที่สามารถให้ความรักและปลอดภัยต่อศิษย์…”
ครูโค้ช มีบทบาทสำคัญในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย อบอุ่น พิงใจ อย่างเพียงพอให้กับนักเรียน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้กล้าลอง กล้าทำ และยอมรับที่จะปรับปรุง นั้นคือ การเรียนรู้
ครูโค้ช ยิ่งจำเป็น
ครูโค้ช เป็น จุดเชื่อมที่หายไปของการเรียนรู้ที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
ส่วนหนึ่งของหนังสือ
ครูสอนสู่ครูโค้ช
Opmerkingen