EP.2 เหตุใด ครูโค้ชจึงมีความสำคัญ
- moral school
- Mar 29
- 1 min read
หากเราเชื่อว่าการเตรียมผู้เรียนมีเป้าหมาย เพื่อให้เขาสามารถประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ คำถามสำคัญคือ อาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีอนาคต เป็นอย่างไร
ยากแก่ตอบให้ถูกต้องและชัดเจน เพราะเงื่อนไขของโลกที่ซับซ้อนมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนสูง แต่ระบบการศึกษาก็ยังต้องมีหน้าที่สร้างหลักประกัน ให้กับผู้เรียนว่า ไม่ว่าอนาคตลักษณะงานและวิถีสังคมจะเป็นอย่างไร เขาจะสามารถเรียนรู้ (learn) ยืดหยุ่น (resilience) และปรับตัว (adapt) ได้เสมอ
หากปลาคือเนื้อหาความรู้(knowledge content) และเครื่องมือหาปลาคือ ทักษะ(skill) +คุณลักษณะ (attribute)แห่งศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน การสื่อสาร growth mindset คุณธรรมของการอยู่ร่วมกัน ความอดทน วินัยกำกับตน เป็นต้น
ระบบการศึกษาจะมอบปลาและเครื่องมือหาปลา ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร
การสอนเนื้อหา (knowledge content) สอนให้จำได้หมายรู้ ก็ยังจำเป็น แต่ก็มีทางเลือกก็เข้าถึงง่ายจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ครูนับวันยิ่งมากขึ้นและดีขึ้น
การสร้างทักษะ (skill) และคุณลักษณะ (attribute) จะจัดการเรียนรู้นี้อย่างไร
รูปแบบการเรียนรู้บรรดามีที่ตั้งอยู่บนฐานความคิด ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (learner-centered) การเรียนรู้จากประสบการณ์ (experiential learning) การเรียนรู้เชิงรุก (active learning) การเรียนรู้เพื่อสร้างสมรรถนะ(competency-based learning) การเรียนบนฐานของโครงการ (project-based learning) บนฐานของปัญหา (problem-based learning) เป็นต้น
พัฒนาขึ้นและมีนโยบายส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในระบบการศึกษา ล้วนมีเป้าหมายปลายทางร่วมกันที่ ต้องการให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (learn) ยืดหยุ่น(resilience) และปรับตัว (adapt) ได้เสมอ
ครูสอน มีวิถีของการส่งมอบเนื้อหาความรู้ ด้วยการ การบอก(tell) การสอน (teach) การแนะนำ (recommend) การตัดสินประเมิน (evaluate) กลายเป็นตัวตนของครู (being) มุมมอง ประสบการณ์ การรับรู้ ทัศนคติของครูสอน จึงเป็นศูนย์กลางในการถ่ายโอนความรู้ ดังน้ันจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากกว่า ครูสอน จะจัดการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในส่วนของทักษะและคุณลักษณะได้อย่างไร (แม้ครูสอนอยากจะทำ)
ครูโค้ช เป็นสมรรถนะและบทบาทของครูสำหรับการศึกษาวันนี้
ครูโค้ช เสมือนจิ๊กซอว์ ตัวสุดท้ายของการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
และต้องกล่าวย้ำว่า ครูโค้ช ที่กล่าวมาไม่ใช่ครูคนใหม่ หรือตำแหน่งใหม่
แต่ครูโค้ช คือ ครูสอนที่ได้ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะเป็น
ครูผู้รับฟัง ครูผู้ที่ใช้คำถามกระตุ้นการเรียนรู้
ครูที่ชื่นชมคุณค่าในตัวผู้เรียนทุกโอกาส
ครูที่เป็นเหมือนกระจกสะท้อน โลกภายในของนักเรียน
ครูผู้เป็น safe zone ของนักเรียน
ครูผู้สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้มีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความกระตือรือร้น
จากครูสอนสู่ครูโค้ช
จิตวิญญาณเดิมแท้แห่งคุรุ
เมื่อศิษย์พร้อมครูจะปรากฎ

Commentaires